วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบ ERP และ ระบบ SAP

SAP คำตอบพื้นฐานของระบบ ERP


SAP ซอฟต์แวร์ทางด้าน Enterprise Resource Planning หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ERP ชั้นนำตัวหนึ่งในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ERP คืออะไร?        
ERP เป็นซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP


ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า มีหลายธุรกิจที่อิมพลีเมนต์ ERP เพื่อผลในการทำ Business Reengi -neering เพราะต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรให้เป็นไปตามกระบวนการที่เป็น Best Practice โดยที่ซอฟต์แวร์ ERP จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น (ที่เรียกกันว่า Customizing หรือ คอนฟิกูเรชัน) ซึ่งในทางทฤษฎีได้แบ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปออกเป็น 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์แพ็กเกจ กับ Customizing Software Package
ข้อแตกต่างของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งสองประเภทก็คือ ซอฟต์แวร์แพ็กเกจ นั้น เราไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนระบบงานในซอฟต์แวร์นั้นได้ตามความต้องการของธุรกิจแต่ละแบบ ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เข้ากับธุรกิจนั้นๆ ก็อาจต้องแก้ไขโปรแกรมของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปตัวนั้นเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็น Customizing Software Package ระบบของซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เตรียมส่วนที่เรียกว่า Customizing ไว้ให้เราใช้ปรับเปลี่ยนการทำงานของซอฟต์แวร์ ให้เข้ากับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจขององค์กรแล้ว
ถ้าจะกล่าวถึงเทคโนโลยีหลักๆ ที่ผลักดันให้เกิดซอฟต์แวร์ ERP ขึ้นมาก็คือ เทคโนโลยีทางด้านระบบฐานข้อมูล และไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นั่นเอง เพราะระบบ ERP นั้น เป็นระบบที่อินทิเกรตฟังก์ชันงานทั้งหมดขององค์กร ดังนั้นข้อมูลจึงจำเป็นที่จะต้องเก็บอยู่ในฐานข้อมูลกลางด้วย ส่วนไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นั้น เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของการบันทึกข้อมูล จากระบบเดิมที่เคยทำงานในส่วนของแบ็กออฟฟิศมาเป็นรูปแบบในการทำงานในส่วนของฟรอนต์ออฟฟิศซึ่งต้องการหน้าจอในลักษณะกราฟิก (Graphic User Interface: GUI) ไม่ใช่รูปแบบที่แสดงแต่ตัวอักษร เหมือนสมัยก่อน ดังนั้นไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์จึงสามารถสนองตอบในส่วนความต้องการในเทคโนโลยีด้านนี้ได้
ซึ่งถ้าลองศึกษาถึงประวัติศาสตร์ของระบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทางธุรกิจกันจริงๆ แล้ว จะพบในอดีตประมาณช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 นั้น ผู้ที่อยู่ในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับองค์กรต่างๆ มีความต้องการที่จะพัฒนาระบบที่เป็นอินทีเกรตซอฟต์แวร์แพ็กเกจแต่ด้วยเทคโนโลยีทางด้านระบบฐานข้อมูลที่ยังมาไม่ถึง รูปแบบของซอฟต์แวร์ในลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นไม่ได้
ERP ก็มีประวัติศาสตร์เหมือนกัน
ก่อนที่จะมีระบบ ERP นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรม ประมาณช่วงทศวรรษ ที่ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning (MRP) ซึ่งก็คือ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษที่ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่องจักร และส่วนของเรื่องการเงิน นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า Manufacturing Resource Planning (MRP II) จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้
ในช่วงที่ผมจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาใหม่ๆ นั้น ผมได้มีโอกาสได้สัมผัสระบบ MRP II ตัวหนึ่งที่ชื่อ TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์ ถ้าดูจากหน้าจอเมนูหลัก จะพบว่ามีอยู่ 3 โมดูลหลักๆ ด้วยกันคือ Financial Accounting, Distribution และ Manufacturing และในโมดูลของ Manufacturing จะมี MRP รวมอยู่ด้วย จะเห็นได้ว่า ในการนำเอาระบบ MRP II เข้ามาช่วยในองค์กรหนึ่งๆ นั้น ยังไม่สามารถสนับสนุนการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้ พอจะนึกออกมั้ยครับว่ายังขาดส่วนของระบบงานใด คำตอบก็คือ ระบบการจัดการทางด้านทรัพยากรบุคคลนั่นเองครับ
นี่จึงเป็นที่มาของระบบ ERP โดยที่นิยามของคำว่า ERP นี้ เกิดขึ้นในยุคต้นทศวรรษที่ 1990 โดย Gartner Group ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า ERP ดังนั้นระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ 4 M ในองค์กร ซึ่งจะประกอบไปด้วย Material, Machine, Money และ Manpower นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าไปดูที่เมนูหลักของระบบ ERP เราจะพบว่ามีเมนูของทั้ง MRP และ MRP II รวมอยู่ด้วย เพราะ ERP มีต้นกำเนิดมาจากระบบ MRP และ MRP II นั่นเอง
สรุปแนวคิดคร่าวๆ ของระบบ ERP
  • ERP เป็นซอฟต์แวร์ที่อินทิเกรตฟังก์ชันการทำงานทั้งหมดทั่วทั้งองค์กร ไม่ใช่ระบบสารสนเทศ ที่สนับสนุนการทำงานเฉพาะส่วนของ Business Function เหมือนในสมัยก่อน ซึ่ง ERP จะสนับสนุนรูปแบบการทำงานในส่วนของ กระบวนการทางธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานในหลายๆ ฟังก์ชัน
  • ERP มีการเก็บข้อมูลทั้งหมดอยู่ใน Common Database
  • ERP มีการทำงานในแบบเรียลไทม์ ถูกพัฒนาขึ้นมาตามมาตรฐานที่เป็น Best Practice ในอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ERP ไม่ใช่เป็นแค่เพียงซอฟต์แวร์แพ็กเกจ แต่มันเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือที่เรียกว่าเป็น The way of doing business
  • SAP เป็นมากกว่าคำว่า ERP


SAP คืออะไร ??
SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้

ใน SAP เองมี Modules หลายๆ Modules ที่มีหน้าที่ทำงานแตกต่างกัน แต่สอดประสานกัน ในแต่ละ Modules จะส่งข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกัน ถึงกัน โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนในแต่ละ Modules และ มีการพัฒนาขึ้นมาในลักษณะของ Based on Best Practice in Industry
ดังนั้นท่านที่คิดว่า SAP เป็นแค่เพียงซอฟต์แวร์บัญชี คงจะเปลี่ยนแนวคิดได้แล้วนะครับ ผมรู้สึกเสียดายนะครับถ้าท่านคิดว่า SAP เป็นแค่เพียงซอฟต์แวร์บัญชีตัวหนึ่ง เพราะจริงๆ แล้วมันคือ ERP ตัวหนึ่งที่ใช้ในการบริหารและจัดการทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร หลายๆ องค์กรได้ใช้ขีดความสามารถของ SAP เพียงแค่ใช้ในการทำงานในส่วนของระบบประมวลผลทรานซ์แอ็กชันเท่านั้น ผมในฐานะที่ทำงานในส่วนของ Basis ในระบบ SAP R/3 รู้สึกว่า SAP ไม่ใช่เพียงแค่ซอฟต์แวร์แพ็กเกจตัวหนึ่ง แต่เป็นเทคโนโลยี สำหรับแอพพลิเคชันทางธุรกิจ มากกว่า
ทราบไหมครับว่า SAP มีส่วนของระบบ Electronic Data Interchange หรือ EDI ที่สนับสนุนการส่ง EDI Message ทั้งในมาตรฐาน ANSI X.12 หรือ EDIFACT มีส่วนของ Web Integration ที่สนับสนุน HTML โดยอาศัยเว็บบราวเซอร์เป็นไคล-เอ็นต์แทน SAPGUI โดยทำงานผ่าน In-ternet Transaction Server (ITS) ของระบบ SAP มีส่วนของ Business Connector ที่สนับสนุนการส่งข้อมูลในรูปแบบของ XML มีส่วนของ SAPConnect ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อระบบ SAP R/3 กับระบบภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต แฟกซ์ X.400 หรือ SAPOffice R/3-R/3 Connection มีส่วนของ SAP Exchange Connector ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ R/3 Mail System กับระบบ MS Exchange Server ของไมโครซอฟท์และระบบ SAP Internet Mail Gateway ที่ใช้ในการส่ง และรับเมสเซจผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ยังมีระบบ SAPphone ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อกับระบบ Computer Telephony Integration (CTI) Server ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบ Private Branch Exchange (PBX) โดยที่เราสามารถที่จะใช้งานในส่วนของ Telephony Control Function ได้เช่น Initiating and Transferring Call, Processing Incoming Call Information และรวมถึงเรื่อง Interactive Voice Res ponse(IVR)
นอกเหนือจากที่ผมกล่าวมาทั้งหมดแล้ว SAP R/3 ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายที่มีการทำงานในลักษณะของระบบเปิด ซึ่งผมเองยังยอมรับเลยครับว่า ถึงแม้ว่าจะทำงานมากับระบบ SAP R/3 มาเกือบ 8 ปี ผมยังไม่ได้ใช้งานระบบ SAP R/3 ในส่วนของ Basis ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของระบบ SAP สักเท่าไร บางทีอาจจะเป็นเพราะรูปแบบธุรกิจขององค์กรที่ผมได้มีโอกาสอิมพลีเมนต์ให้ ไม่ได้ต้องการงานในส่วนนี้ หรืออาจเป็นเพราะลูกค้าที่ผมวางระบบ SAP ให้นั้น ไม่ทราบว่ามีส่วนระบบงานพวกนี้อยู่ในเอ็นจินของระบบ SAP R/3 ดังนั้นบทความที่ผมเขียนในส่วน SAP R/3 นี้ ผมอยากให้เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจกับเทคโนโลยีของระบบ SAP R/3 ซึ่งในส่วนของข้อมูลทางเทคนิคนี้ ผมยกไปนำเสนอในนิตยสาร PC Magazine Thailand ส่วนที่ eLeader นี้ ผมคงนำเสนอในมุมมองทางด้านแนวคิดและเทคโนโลยีมากกว่า
ส่วนงานในระบบ SAP Basis ถือว่าเป็นส่วนงานกลางของระบบ SAP (Core) โดยเราจะเรียกคนที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนของ Basis นี้ว่าเป็น Basis Administrator นอกจากนี้ในส่วนของงานทางด้านเทคนิคยังมีงานทางด้าน ABAP ซึ่งแบ่งออกเป็นงานย่อยๆ ได้ 3 ส่วนหลักๆ คืองาน ABAP Report คือการเขียนโปรแกรม ABAP เพื่อออกรายงานที่เป็น Customizing Report งาน Dialog Programming ก็คือการเขียนโปรแกรม ABAP ในลักษณะของทรานส์แอ็กชัน และสุดท้ายก็คืองาน SAPScript ก็คือการเขียน ABAP เพื่อพิมพ์ Preprint Form ต่างๆ เช่น อินวอยซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีส่วนของการเขียน BDC Program สำหรับการทำ Data Conversion และ Interface Program ซึ่งผมจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงาน ABAP Report
เบื้องหลังของระบบ SAP R/3
สำหรับในส่วนของแอพพลิเคชันทั้งหมดในระบบ SAP นั้น จะได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยภาษา ABAP หรือ Advance Business Application Programming (ABAP/4 ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมในยุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นคำที่เรียกใน SAP Release 3.0 ส่วนใน SAP Release 4.0 เป็นต้นไป จะเรียกว่า ABAP เนื่องจากว่ามีการพัฒนาภาษาโปรแกรม ABAP เป็นแบบออบเจ็กต์โอเรียลเต็ดมากขึ้น) และในส่วนของรันไทม์หรือ เคอร์เนลของระบบ SAP นั้น จะถูกพัฒนาขึ้นมาจากภาษา C/C++ (ในรีลีสถัดไปจะมีส่วนของจาวา)
ในส่วนของการอิมพลีเมนต์ ระบบ SAP นั้น จะมีการทำในส่วนของ Customizing หรือ คอนฟิกูเรชัน (จริงๆ แล้วก็คือ การกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ นั่นเอง) ผ่านทาง Implementation Guide (IMG) เพื่อให้ระบบงาน SAP ทำงานได้กับองค์กรนั้นๆ



โมดูลแอพพลิเคชันหลักๆ ในระบบ SAP

1.       FI Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
2.       CO Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
3.       AM Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร
4.       SD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
5.       MM Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ
6.       PP Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
7.       QM Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ
8.       PM Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
9.       HR Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
10.    TR Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
11.    WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
12.    IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products, Engineering and Construction, Healthcare, Higher
13.    Education and Research, High Tech, Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail, Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities



วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร
MIS คืออะไร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ





ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS ข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่
เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)

MIS ที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. MIS ถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems) เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ
2. MIS เป็นระบบงาน ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้งระบบ
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร
4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง MIS ให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม
5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงานเครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของ MIS คือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม การทำงานและการจัดการขององค์กร

6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล
7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึงแม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคดว่า MIS จะมาแย่งงานของตนไป



ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร?


                ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS ) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงานและการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาและสร้างผลิตภัณฑ์หรือผลงานใหม่โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Hardware ) และโปรแกรม ( Software ) รวมทั้งผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน  การจัดการและการตัดสินใจในองค์กร

 เนื้อหาและการจัดโครงสร้างสารสนเทศ
เนื้อหาของการจัดการสารสนเทศครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้
1.       ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการและการตัดสินใจ
2.       จิตวิทยาและพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งจะเป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของระบบสารสนเทศ
3.       สภาพแวดล้อม ( Environment ) และการผลักดันทางเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดโอกาสในการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
4.       วิธีการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System )

การจัดโครงสร้างของสารสนเทศ  หากจะแบ่งตามลำดับการนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้  เป็น 4 ระดับคือ
1.       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผน นโยบาย กลยุทธ์ การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ( Top Management )
2.       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติและการตัดสินใจในผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manangement )
3.       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุม ในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่าง ( Bottom Management ) จะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
4.       ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ในขั้นตอนนี้พนักงานจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและป้อนข้อมูลเข้าสู่กระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศออกนำเสนอต่อผู้บริหาร
 ความต้องการระบบสารสนเทศ
        ผู้บริโภคข้อมูลปรารถนาจะให้องค์กรมีเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และสามารถสนองตอบความต้องการในทางปฏิบัติงานได้ ซึ่งความต้องการข้อสนเทศแต่ละระดับไม่เท่ากัน แต่ละระดับมีความต้องการแตกต่างกัน ในระดับปฏิบัติจะต้องมีระบบงานที่สนองความต้องการของระดับปฏิบัติ ( Operational System ) ระดับกลางมีระดับงานที่คอยควบคุมดูแลให้งานต่างๆเป็นไปตามที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องได้ระบบงานที่ช่วยในการตัดสินใจ  ระดับสูงเป็นงานด้านวางแผนกลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นความต้องการสารสนเทศของแต่ละระดับจึงไม่เหมือนกันถึงแม้จะมาจากฐานข้อมูลเดียวกัน แต่ต้องสร้างระบบ สร้างสารสนเทศเพื่อสนองความต้องการของแต่ละระดับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ [Management Information Systems (MIS)] เป็นระบบที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดหาข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน หรือการวิเคราะห์วางแผน การจัดการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพในองค์กรประกอบด้วยระบบย่อย4ระบบดังนี้
1.       ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing Systems )
2.       ระบบการรายงาน ( Management Report Systems )
3.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Report System )
4.       ระบบสารสนเทศสำนักงาน ( Office Information Systems )
ระบบย่อยทั้ง4ระบบนี้ จะสร้างความสัมพันธ์ให้เข้ากับระบบสนับสนุนผู้บริหาร( Excutive Support Systems )
1.       ระบบประมวลผลรายการ [ Transaction Processing Systems (TPS)] เป็นระบบที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประจำวันขององค์การ การบันทึกรายการต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นการปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำๆกันทุกวัน ( Routine ) เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการเชื่อมโยงกับตัวแปรอื่นๆ
2.       ระบบการรายงาน [ Management Reporting System (MRS) ] เป็นระบบที่ช่วยในการจัดเตรียมรายงานเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ ( User ) วัตถุประสงค์คือเพื่อจัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้บริหารเพื่อใช้ในการพิจารณาก่อนที่จะมีการตัดสินใจ  รายงานที่เตรียมขึ้นมานี้เกิดจากการบันทึกข้อมูลอย่างกว้างในขั้นตอนระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System ) โดยทั่วไปข้อมูลต่างๆที่อยู่ในรูปของข้อสรุป ( Summary  Report )  หรือจะพิจารณารายละเอียดของข้อมูลก็ได้ ( Detail Report )
3.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [ Decision Support Systems (DSS) ] ระบบนี้ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่างๆ เช่น ระบบ DSS จะช่วยคณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบัน ที่นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ และรายงานผลได้ทันกับความต้องการ ระบบ DSS จะมีความสามารถในการใช้งานได้ดีกว่าระบบประมวลผลรายการ  และระบบรายงานการจัดการ  เนื่องจากระบบ DSS สามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรที่แตกต่างกัน แล้วทำการคำนวณวิเคราะห์ใหม่ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับ TPS และ MRS ที่ยังเป็นข้อมูลดิบซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ประจำวัน
4.       ระบบสารสนเทศสำนักงาน [ Office Information System ( OIS ) ] เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในสำนักงานโดยอาศัยอุปกรณ์พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Base ) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner ) เครื่องโทรสาร (Facsimile ) โมเด็ม ( Mofem ) โทรศัพท์และสายสัญญาณ  รวมถึงระบบโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing ) โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ( Microsoft Office ) และโปรแกรมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( E-mail ) เป็นต้น ระบบสารสนเทศที่ใช้ในสำนักงานจะมีความยืดหยุ่นและคาบเกี่ยวกับขอบเขตของ TPS, MRS และ DSS นอกจากนั้นระบบความรู้ [ Knowledge System (KES) ] ซึ่งเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานก็มีบทบาทในการพัฒนาองค์กรเนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ เช่น บรรณารักษศาสตร์มีการใช้โปรแกรมเฉพาะงานการจัดทำฐานข้อมูลแคตตาลอค ฐานข้อมูลบรรณานุกรม ฐานข้อมูลการทำดรรชนีบทความเป็นต้น
                นอกจากนั้นยังมีระบบอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS ) เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการนำไปใช้ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System ) ระบบอัจฉริยะ (Artificial Intelligence ) ในระดับนโยบายและแผนขององค์กร จึงทำให้เกิดระบบสนับสนุนผู้บริหาร [ Excutive Support System (ESS ) ]
                ระบบสนับสนุนผู้บริหาร ( ESS ) เป็นระบบที่ใช้ในระดับกลยุทธ์ขององค์กร  โดยจะมีการพิจารณาข้อมูลทั้งภายในองค์กรในส่วนของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และภายนอกองค์กรเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจในปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างหรือรูปแบบที่แน่นอน  ดังนั้นระบบสนับสนุนผู้บริหารจึงเป็นระบบที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือใช้ในการวางแผนกลยุทธ์โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป เมนู ( Menu ) กราฟฟิค ( Graphic )  และอาศัยการติดต่อสื่อสาร (Communication ) รวมถึงการประมวลผลขอบเขตของหน่วยงาน ( Local Processing )
                ข้อมูลในองค์กรจะใช้งานได้ต้องผ่านการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การวิเคราะห์การทำงานภายในหน่วยงาน หรือการวิเคราะห์ผลผลิตขององค์กร สารสนเทศมีประโยชน์มากจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างสารสนเทศขึ้นมา และจะต้องมีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางการศึกษา การบริหาร หรือแม้แต่การเตรียมพร้อมที่จะวิเคราะห์การลงทุนในอนาคตอันใกล้ที่มหาวิทยาลัยกำลังเตรียมการออกนอกระบบด้วย ระบบสารสนเทศในองค์กรมักจะคำนึงถึงประโยชน์ต่อไปนี้
1.       การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2.       การลดเวลาการทำงาน
3.       การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน/การเรียกใช้/การเลือกใช้สารสนเทศ
4.       ความสามารถกลั่นกรองสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการได้ทันที
5.       การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ( ระบบฐานข้อมูล/ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์/ทรัพยากรสารสนเทศ )
6   ความสามารถในการสร้างมาตรการประกันคุณภาพการศึกษา เช่น สามารถตรวจสอบติดตามผลการเรียนของนักศึกษา/ ประวัติ/ ผลการปฏิบัติงานของบุคคลากร เป็นต้น
7.       สร้างโอกาสในการพัฒนาองค์กรด้านการศึกษาให้สังคมรู้จักและเลือกใช้
8.       สร้างภาพพจน์ที่ดีให้ปรากฏแก่สังคม
อัลวิน ทอฟเลอร์ได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือคลื่นลูกที่สามว่า 
                สิ่งที่ยุคคลื่นลูกที่สามต้องการมากขึ้น คือคนที่รับผิดชอบ เข้าใจงานของตนว่าประกอบกับงานของคนอื่นอย่างไร ต้องสามารถปฏิบัติงานใหญ่ได้ สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปรได้ดี และปรับตัวให้เข้ากับคนรอบข้างได้ดี
                 องค์กรต่างๆมีความจำเป็นต้องมีการจัดการระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจ เนื่องจากระบบสารสนเทศอาศัยระบบการจัดการฐานข้อมูล ( Database ) ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลขององค์กร และทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลให้กับหน่วยงานต่างๆภายในองค์กร  ระบบข้อมูลสารสนเทศจำเป็นต้องกระจายให้กว้างโดยอาศัยการสื่อสาร ซึ่งจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร โดยการสร้างเป็นเครือข่ายเฉพาะที่ ( Local Area Network ) หรือ LAN เพื่อให้ภายในองค์กรสามารถใช้ข้อมูลต่างๆร่วมกันได้ในรูปของเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ ( LAN ) และอินทราเน็ต ( Intranet ) และสามารถส่งข้อมูลสื่อสารกับเครือข่ายระยะไกลได้
                เมื่อองค์กรมีความพร้อมผู้บริหารสามารถจะรับรู้ศักยภาพ ขององค์กรได้ในภาพรวมโดยศึกษาจากข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และวิเคราะห์แล้วด้วยวิธีนำข้อมูลที่ได้จัดเพื่อการบริหาร (MIS ) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการตัดสินใจ  การกำหนดนโยบาย  การวางแผนงานก็จะสามารถพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้บริหารต้องพร้อมที่จะบันดาลให้เกิดระบบ MIS ขึ้นในองค์กรอย่างมีหลักการ อย่างอดทนและต่อเนื่อง  รวมทั้งต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าทันกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้อันเกี่ยวเนื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เช่นองค์ความรู้ใหม่ๆ  การจัดการความรู้ และยอมรับรู้ว่าโลกในยุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำรงชีวิตนั้นเป็นเช่นไรและพยายามให้ความรู้แก่คนในองค์กรอย่างทั่วถึง  ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ