ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร
MIS คืออะไร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS ข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่
เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)
MIS ที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. MIS ถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems) เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ
2. MIS เป็นระบบงาน ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้งระบบ
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร
4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง MIS ให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม
5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงานเครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของ MIS คือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม การทำงานและการจัดการขององค์กร
6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล
7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึงแม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคดว่า MIS จะมาแย่งงานของตนไป
ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร?
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS ) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงานและการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาและสร้างผลิตภัณฑ์หรือผลงานใหม่โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Hardware ) และโปรแกรม ( Software ) รวมทั้งผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจในองค์กร
เนื้อหาและการจัดโครงสร้างสารสนเทศ
เนื้อหาของการจัดการสารสนเทศครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้
1. ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการและการตัดสินใจ
2. จิตวิทยาและพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งจะเป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของระบบสารสนเทศ
3. สภาพแวดล้อม ( Environment ) และการผลักดันทางเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดโอกาสในการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
4. วิธีการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System )
การจัดโครงสร้างของสารสนเทศ หากจะแบ่งตามลำดับการนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ เป็น 4 ระดับคือ
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผน นโยบาย กลยุทธ์ การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ( Top Management )
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติและการตัดสินใจในผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manangement )
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุม ในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่าง ( Bottom Management ) จะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ในขั้นตอนนี้พนักงานจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและป้อนข้อมูลเข้าสู่กระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศออกนำเสนอต่อผู้บริหาร
ความต้องการระบบสารสนเทศ
ผู้บริโภคข้อมูลปรารถนาจะให้องค์กรมีเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และสามารถสนองตอบความต้องการในทางปฏิบัติงานได้ ซึ่งความต้องการข้อสนเทศแต่ละระดับไม่เท่ากัน แต่ละระดับมีความต้องการแตกต่างกัน ในระดับปฏิบัติจะต้องมีระบบงานที่สนองความต้องการของระดับปฏิบัติ ( Operational System ) ระดับกลางมีระดับงานที่คอยควบคุมดูแลให้งานต่างๆเป็นไปตามที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องได้ระบบงานที่ช่วยในการตัดสินใจ ระดับสูงเป็นงานด้านวางแผนกลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นความต้องการสารสนเทศของแต่ละระดับจึงไม่เหมือนกันถึงแม้จะมาจากฐานข้อมูลเดียวกัน แต่ต้องสร้างระบบ สร้างสารสนเทศเพื่อสนองความต้องการของแต่ละระดับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ [Management Information Systems (MIS)] เป็นระบบที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดหาข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน หรือการวิเคราะห์วางแผน การจัดการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพในองค์กรประกอบด้วยระบบย่อย4ระบบดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing Systems )
2. ระบบการรายงาน ( Management Report Systems )
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Report System )
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน ( Office Information Systems )
ระบบย่อยทั้ง4ระบบนี้ จะสร้างความสัมพันธ์ให้เข้ากับระบบสนับสนุนผู้บริหาร( Excutive Support Systems )
1. ระบบประมวลผลรายการ [ Transaction Processing Systems (TPS)] เป็นระบบที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประจำวันขององค์การ การบันทึกรายการต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นการปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำๆกันทุกวัน ( Routine ) เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการเชื่อมโยงกับตัวแปรอื่นๆ
2. ระบบการรายงาน [ Management Reporting System (MRS) ] เป็นระบบที่ช่วยในการจัดเตรียมรายงานเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ ( User ) วัตถุประสงค์คือเพื่อจัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้บริหารเพื่อใช้ในการพิจารณาก่อนที่จะมีการตัดสินใจ รายงานที่เตรียมขึ้นมานี้เกิดจากการบันทึกข้อมูลอย่างกว้างในขั้นตอนระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System ) โดยทั่วไปข้อมูลต่างๆที่อยู่ในรูปของข้อสรุป ( Summary Report ) หรือจะพิจารณารายละเอียดของข้อมูลก็ได้ ( Detail Report )
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [ Decision Support Systems (DSS) ] ระบบนี้ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่างๆ เช่น ระบบ DSS จะช่วยคณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบัน ที่นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ และรายงานผลได้ทันกับความต้องการ ระบบ DSS จะมีความสามารถในการใช้งานได้ดีกว่าระบบประมวลผลรายการ และระบบรายงานการจัดการ เนื่องจากระบบ DSS สามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรที่แตกต่างกัน แล้วทำการคำนวณวิเคราะห์ใหม่ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับ TPS และ MRS ที่ยังเป็นข้อมูลดิบซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ประจำวัน
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน [ Office Information System ( OIS ) ] เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในสำนักงานโดยอาศัยอุปกรณ์พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Base ) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner ) เครื่องโทรสาร (Facsimile ) โมเด็ม ( Mofem ) โทรศัพท์และสายสัญญาณ รวมถึงระบบโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing ) โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ( Microsoft Office ) และโปรแกรมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( E-mail ) เป็นต้น ระบบสารสนเทศที่ใช้ในสำนักงานจะมีความยืดหยุ่นและคาบเกี่ยวกับขอบเขตของ TPS, MRS และ DSS นอกจากนั้นระบบความรู้ [ Knowledge System (KES) ] ซึ่งเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานก็มีบทบาทในการพัฒนาองค์กรเนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ เช่น บรรณารักษศาสตร์มีการใช้โปรแกรมเฉพาะงานการจัดทำฐานข้อมูลแคตตาลอค ฐานข้อมูลบรรณานุกรม ฐานข้อมูลการทำดรรชนีบทความเป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีระบบอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS ) เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการนำไปใช้ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System ) ระบบอัจฉริยะ (Artificial Intelligence ) ในระดับนโยบายและแผนขององค์กร จึงทำให้เกิดระบบสนับสนุนผู้บริหาร [ Excutive Support System (ESS ) ]
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร ( ESS ) เป็นระบบที่ใช้ในระดับกลยุทธ์ขององค์กร โดยจะมีการพิจารณาข้อมูลทั้งภายในองค์กรในส่วนของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และภายนอกองค์กรเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจในปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างหรือรูปแบบที่แน่นอน ดังนั้นระบบสนับสนุนผู้บริหารจึงเป็นระบบที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือใช้ในการวางแผนกลยุทธ์โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป เมนู ( Menu ) กราฟฟิค ( Graphic ) และอาศัยการติดต่อสื่อสาร (Communication ) รวมถึงการประมวลผลขอบเขตของหน่วยงาน ( Local Processing )
ข้อมูลในองค์กรจะใช้งานได้ต้องผ่านการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การวิเคราะห์การทำงานภายในหน่วยงาน หรือการวิเคราะห์ผลผลิตขององค์กร สารสนเทศมีประโยชน์มากจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างสารสนเทศขึ้นมา และจะต้องมีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางการศึกษา การบริหาร หรือแม้แต่การเตรียมพร้อมที่จะวิเคราะห์การลงทุนในอนาคตอันใกล้ที่มหาวิทยาลัยกำลังเตรียมการออกนอกระบบด้วย ระบบสารสนเทศในองค์กรมักจะคำนึงถึงประโยชน์ต่อไปนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. การลดเวลาการทำงาน
3. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน/การเรียกใช้/การเลือกใช้สารสนเทศ
4. ความสามารถกลั่นกรองสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการได้ทันที
5. การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ( ระบบฐานข้อมูล/ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์/ทรัพยากรสารสนเทศ )
6 ความสามารถในการสร้างมาตรการประกันคุณภาพการศึกษา เช่น สามารถตรวจสอบติดตามผลการเรียนของนักศึกษา/ ประวัติ/ ผลการปฏิบัติงานของบุคคลากร เป็นต้น
7. สร้างโอกาสในการพัฒนาองค์กรด้านการศึกษาให้สังคมรู้จักและเลือกใช้
8. สร้างภาพพจน์ที่ดีให้ปรากฏแก่สังคม
อัลวิน ทอฟเลอร์ได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือคลื่นลูกที่สามว่า
“สิ่งที่ยุคคลื่นลูกที่สามต้องการมากขึ้น คือคนที่รับผิดชอบ เข้าใจงานของตนว่าประกอบกับงานของคนอื่นอย่างไร ต้องสามารถปฏิบัติงานใหญ่ได้ สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปรได้ดี และปรับตัวให้เข้ากับคนรอบข้างได้ดี ”
องค์กรต่างๆมีความจำเป็นต้องมีการจัดการระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจ เนื่องจากระบบสารสนเทศอาศัยระบบการจัดการฐานข้อมูล ( Database ) ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลขององค์กร และทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลให้กับหน่วยงานต่างๆภายในองค์กร ระบบข้อมูลสารสนเทศจำเป็นต้องกระจายให้กว้างโดยอาศัยการสื่อสาร ซึ่งจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร โดยการสร้างเป็นเครือข่ายเฉพาะที่ ( Local Area Network ) หรือ LAN เพื่อให้ภายในองค์กรสามารถใช้ข้อมูลต่างๆร่วมกันได้ในรูปของเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ ( LAN ) และอินทราเน็ต ( Intranet ) และสามารถส่งข้อมูลสื่อสารกับเครือข่ายระยะไกลได้
เมื่อองค์กรมีความพร้อมผู้บริหารสามารถจะรับรู้ศักยภาพ ขององค์กรได้ในภาพรวมโดยศึกษาจากข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และวิเคราะห์แล้วด้วยวิธีนำข้อมูลที่ได้จัดเพื่อการบริหาร (MIS ) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย การวางแผนงานก็จะสามารถพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้บริหารต้องพร้อมที่จะบันดาลให้เกิดระบบ MIS ขึ้นในองค์กรอย่างมีหลักการ อย่างอดทนและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าทันกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้อันเกี่ยวเนื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นองค์ความรู้ใหม่ๆ การจัดการความรู้ และยอมรับรู้ว่าโลกในยุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำรงชีวิตนั้นเป็นเช่นไรและพยายามให้ความรู้แก่คนในองค์กรอย่างทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น